วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

MatLab Image Processing #4 การปรับปรุงคุณภาพของภาพ

การปรับปรุงคุณภาพของภาพ (Image Enhancement) ที่เราจะมาศึกษากันในบทนี้ จะเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพซึ่งจำเป็นต้องใช้ในบทต่อ ๆ ไป การปรับปรุงคุณภาพของภาพแบ่งออกตามประเภทของการประมวลผลได้ 4 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

# Pixel-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพของภาพโดยกระทำทีละจุด ๆ บนภาพจนกระทั้งครบทุกจุด เช่น การกระทำทางพีชคณิต การกระทำเชิงตรรก หรือเรขาคณิต เป็นต้น

# Histogram-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพของภาพโดยกระทำบนฮิสโตแกรมของภาพที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพนั้น

# Spatial-filtering-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพของภาพโดยใช้วิธีการทำ Spatial Convolution ที่จุดภาพโดยตรง

# Frequency-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพโดยกระทำในระดับความถี่ หรือ Frequency Domain โดยใช้การแปลงแบบฟูเรียร์ (Fourier) เข้ามาช่วย

เหตุผลที่เราจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของภาพก็คือ เมื่อเราได้ภาพดิจิตอลมาแล้ว ภาพนั้น อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ในงานของเราได้ เนื่องจากมีสัญญาณรบกวน หรือมีจุดบกพร่องในภาพ เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการปรับปรุงคุณภาพของภาพก็คือ

เพื่อปรับปรุงภาพที่โดนสัญญาณรบกวน (Noise) เช่น จุดเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในภาพ

การปรับความสว่าง (Brightness) คือ การปรับความเข้มของแสงในแต่ละจุดภาพ เพราะว่าภาพที่บันทึกมา อาจจะมีการให้แสงมากหรือน้อยเกินไป จึงทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัด

การปรับความคมชัด (Contrast) คือ ลักษณะความเด่นชัดของเส้นและขอบในภาพ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

lab 6 ข้อ9

จะต้องใช้ฟังก์ชันที่ผ่านค่าตัวแปรเมื่อ => ต้องการกำหนดจำนวนที่แน่นอนของตัวแปรและเป็นการเติมสัญลักษณ์ที่เราต้องการกำหนด

จะต้องใช้ฟังก์ชันที่ไม่ผ่านตัวแปรเมื่อ => ไม่ต้องการกำหนดจำนวนที่แน่นอนของตัวแปรและเป็นการกำหนดค่าออกมาเลยเพื่อให้ แสดงผลออกมาตามที่ต้องการโดยไม่กำหนดค่าที่แตกต่างกันเป็นการทำให้เหมือนกันไปเลย

lab 5 ข้อ24



lab 5 ข้อ13


Lab 5 ข้อ8


วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การสอดแทรกคำสั่งภาษา PHP ในเอกสาร HTML

เพื่อเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่า ส่วนใดเป็นคำสั่ง PHP ที่อยู่ภายในเอกสาร HTML จึงได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ไว้ดังนี้ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น




ที่นิยมก็คือแบบแรก โดยเริ่มต้นด้วย และตรงกลางจะเป็นคำสั่งในภาษา PHP เราสามารถวางคำสั่ง PHP ไว้ภายในเอกสาร HTML ตามที่ต้องการได้ อาจจะสลับกับ Tag ของภาษา HTML ก็ได้




คำสั่งแรกที่ง่ายที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ก็คือคำสั่ง echo แล้วตามด้วยข้อความหรือสตริงค์ (string) ข้อความในภาษา PHP จะเริ่มต้นและจบด้วย double quote (") เหมือนในภาษาซี




โปรดสังเกตว่า คำสั่งแต่ละคำสั่งในภาษา PHP จะจบท้ายคำสั่งด้วย semicolon (;) เหมือนในภาษาซี ซี่ง คำสั่งหรือฟังก์ชันในภาษา PHP นั้นจะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือใหญ่ ก็ได้ (case-insensitive)

http://www.thai-programmer.com/?DPage=90500107

ภาษา PHP

PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น

PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

Lab4 ข้อ15


Lab4 ข้อ12


Lab4 ข้อ9


Lab 4 การบ้านข้อ 6

จากที่เคยเรียนวิชาโปรแกรมต่างๆ คิดว่าตัวดำเนินการทั้งสองลักษณะมักจะใช่ ในสถานการณ์เปรียบเทียบกันเพื่อหาคำตอบหรือการเปรียบเทียบของตัวเลขทั้งสองจากคำตอบที่ได้ เช่น 10>=8 เป็นต้น