วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

MatLab Image Processing #4 การปรับปรุงคุณภาพของภาพ

การปรับปรุงคุณภาพของภาพ (Image Enhancement) ที่เราจะมาศึกษากันในบทนี้ จะเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพซึ่งจำเป็นต้องใช้ในบทต่อ ๆ ไป การปรับปรุงคุณภาพของภาพแบ่งออกตามประเภทของการประมวลผลได้ 4 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

# Pixel-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพของภาพโดยกระทำทีละจุด ๆ บนภาพจนกระทั้งครบทุกจุด เช่น การกระทำทางพีชคณิต การกระทำเชิงตรรก หรือเรขาคณิต เป็นต้น

# Histogram-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพของภาพโดยกระทำบนฮิสโตแกรมของภาพที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพนั้น

# Spatial-filtering-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพของภาพโดยใช้วิธีการทำ Spatial Convolution ที่จุดภาพโดยตรง

# Frequency-based เป็นการปรับปรุงคุณภาพโดยกระทำในระดับความถี่ หรือ Frequency Domain โดยใช้การแปลงแบบฟูเรียร์ (Fourier) เข้ามาช่วย

เหตุผลที่เราจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของภาพก็คือ เมื่อเราได้ภาพดิจิตอลมาแล้ว ภาพนั้น อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ในงานของเราได้ เนื่องจากมีสัญญาณรบกวน หรือมีจุดบกพร่องในภาพ เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการปรับปรุงคุณภาพของภาพก็คือ

เพื่อปรับปรุงภาพที่โดนสัญญาณรบกวน (Noise) เช่น จุดเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในภาพ

การปรับความสว่าง (Brightness) คือ การปรับความเข้มของแสงในแต่ละจุดภาพ เพราะว่าภาพที่บันทึกมา อาจจะมีการให้แสงมากหรือน้อยเกินไป จึงทำให้ภาพที่ได้ไม่ชัด

การปรับความคมชัด (Contrast) คือ ลักษณะความเด่นชัดของเส้นและขอบในภาพ

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

lab 6 ข้อ9

จะต้องใช้ฟังก์ชันที่ผ่านค่าตัวแปรเมื่อ => ต้องการกำหนดจำนวนที่แน่นอนของตัวแปรและเป็นการเติมสัญลักษณ์ที่เราต้องการกำหนด

จะต้องใช้ฟังก์ชันที่ไม่ผ่านตัวแปรเมื่อ => ไม่ต้องการกำหนดจำนวนที่แน่นอนของตัวแปรและเป็นการกำหนดค่าออกมาเลยเพื่อให้ แสดงผลออกมาตามที่ต้องการโดยไม่กำหนดค่าที่แตกต่างกันเป็นการทำให้เหมือนกันไปเลย

lab 5 ข้อ24



lab 5 ข้อ13


Lab 5 ข้อ8


วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การสอดแทรกคำสั่งภาษา PHP ในเอกสาร HTML

เพื่อเป็นการบ่งบอกให้รู้ว่า ส่วนใดเป็นคำสั่ง PHP ที่อยู่ภายในเอกสาร HTML จึงได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ไว้ดังนี้ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น




ที่นิยมก็คือแบบแรก โดยเริ่มต้นด้วย และตรงกลางจะเป็นคำสั่งในภาษา PHP เราสามารถวางคำสั่ง PHP ไว้ภายในเอกสาร HTML ตามที่ต้องการได้ อาจจะสลับกับ Tag ของภาษา HTML ก็ได้




คำสั่งแรกที่ง่ายที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ก็คือคำสั่ง echo แล้วตามด้วยข้อความหรือสตริงค์ (string) ข้อความในภาษา PHP จะเริ่มต้นและจบด้วย double quote (") เหมือนในภาษาซี




โปรดสังเกตว่า คำสั่งแต่ละคำสั่งในภาษา PHP จะจบท้ายคำสั่งด้วย semicolon (;) เหมือนในภาษาซี ซี่ง คำสั่งหรือฟังก์ชันในภาษา PHP นั้นจะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือใหญ่ ก็ได้ (case-insensitive)

http://www.thai-programmer.com/?DPage=90500107

ภาษา PHP

PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น

PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

Lab4 ข้อ15


Lab4 ข้อ12


Lab4 ข้อ9


Lab 4 การบ้านข้อ 6

จากที่เคยเรียนวิชาโปรแกรมต่างๆ คิดว่าตัวดำเนินการทั้งสองลักษณะมักจะใช่ ในสถานการณ์เปรียบเทียบกันเพื่อหาคำตอบหรือการเปรียบเทียบของตัวเลขทั้งสองจากคำตอบที่ได้ เช่น 10>=8 เป็นต้น

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

HTML

HTML ย่อมาจากคำว่า HyperText Markup Language เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C)
HTML เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษาใด ๆ ๆ เช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่น ๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลักใหญ่ หรือให้เรามองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browse


รูปแบบการเขียนของภาษา HTML

HTML มีรูปแบบการเขียนในลักษณะ TAG ซึ่ง TAG นี้จะมีทั้ง TAG เปิด และ Tag ปิด โดยที่ TAG จะมีลักษณะ ดังนี้
…………………
คือ TAG เปิด
คือ TAG ปิด
แต่กระนั้นในภาษา HTML ก็ยังมีรูปแบบของ TAG อีกประเภทหนึ่ง คือ TAG เดี่ยว ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมี TAG ปิดเข้าร่วมด้วย



โครงสร้างของ HTML

HTML มีรูปแบบโครงสร้างที่ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของ HEAD สำหรับข้อมูลในส่วนหัวของ HTML เช่น ข้อความบน Title bar เป็นต้น
2. ส่วนของ BODY สำหรับการแสดงผลยังหน้าเอกสาร หรือหน้า Web Browser
โดยทั้ง 2 ส่วนประกอบข้างต้น จะถูกกำกับภายใต้ TAG …..

» HEAD Section
ส่วนของ HEAD ของเอกสาร HTML เป็นส่วนที่เราจะสามารถใส่คำอธิบายเว็บเพจ เช่น Title หรือชื่อเรื่องของเอกสาร, Keyword สำหรับการค้นหา ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ HEAD ไว้ภายใน TAG …… เช่น







.................................................................
.................................................................



-

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Analog + Digital

analog
เทคโนโลยี analog เป็นการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิค โดยการรรวมสัญญาณ ของหลายความถี่หรือ ความกว้างคลื่น (amplitude) เพื่อนำคลื่นความถี่ของกระแส electromagnetic การกระจายเสียงและโทรศัพท์ที่ผ่านมาใช้เทคโนโลยี analog
analog ยังมีความหมายว่า การแกว่ง การแปรขบวน หรือการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องของ กระบวนการ ซึ่งมักจะนำเสนอ ในรูปคลื่นแบบ sine เนื่องจากจุดเริ่ม ของคำนี้มาจากการแปลงสัญญาณคลื่นเสียง modem ใช้สำหรับแปลงข้อมูลดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบ analog เพื่อส่งเข้าสายโทรศัพท์ และแปลงสัญญาณแบบ analog เป็นดิจิตอล สำหรับส่งเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์


digital
digital (ดิจิตอล) การเป็นการอธิบายเทคโนโลยีอีเล็คโทรนิคส์ที่ใช้สร้าง เก็บ และประมวลข้อมูลในลักษณะ 2 สถานะ คือ บวก (positive) และไม่บวก (non-positive) บวก (positive) แสดงด้วย เลข 1 และไม่บวก (non-positive) แสดงด้วย เลข 0 ดังนั้น ข้อมูลส่งผ่าน หรือเก็บด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เป็นการแสดงด้วยข้อความของ 0 และ 1 แต่ละค่าของตำแหน่งสถานะเหล่านี้ เป็นการอ้างแบบ binary digital

ก่อนหน้าเทคโนโลยีดิจิตอล การส่งผ่านอีเล็คโทรนิคส์ถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีอะนาล๊อก ซึ่งนำส่งข้อมูลเป็นสัญญาณอีเลคโทรนิคส์ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของความถี่ หรือความสูงซึ่งเพิ่มเข้าสู่คลื่นตัวนำที่ให้ความถี่ การส่งผ่านการกระจาย และโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ใช้เทคโนโลยีอะนาล็อค เทคโนโลยีดิจิตอล ได้รับการใช้ในตัวกลางการสื่อสารทางกายภาค เช่นการส่งผ่านด้วยดาวเทียม และไฟเบอร์อ๊อปติค โมเด็มใช้ในการแปลงสัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นสารสนเทศดิจิตอล สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์



http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=digital&term_group=D

GML+ API

กล่าวถึง GML อาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกันอย่างแพร่หลายหนัก แต่จริงๆแล้ว GML ถูกใช้และพัฒนามาหลายปีแล้ว โดย GML ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล GIS โดยไม่ขึ้นกับฟอร์แมทเฉพาะของซอฟท์แวร์ GIS เช่น tab,shp,dgn โดยลดการศูนย์เสียเนื่องจากการแปลงข้อมูลไปยังรูปแบบต่างๆได้ ส่วนการแสดงผล GML ก็สามารถแสดงผลข้อมูลได้ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลของ XML เช่น SVG

GML เป็นหนึ่งในมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูล GIS ของ ISO และ OGC โดยมีความสามารถครอบคลุมการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น Topology, Time, 3D และ Metadata ซึ่งเชื่อมต่อกับโปรโตคอลในการบริการข้อมูลฟีเจอร์ เช่น Web Feature Service (WFS) แต่การใช้งานปัจจุบันส่วนมากเรามักใช้งานเพียงแค่ในด้านการแสดงผลข้อมูล GIS ประเภท Featrue ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งในความเป็นจริงก็มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดของเอกสารข้อมูล GML ที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนาน OGC ก็มีการอภิปรายในเรื่องของประสิทธิภาพและข้อจำกัดในเรื่องนี้ จนเมื่อปีที่แล้วก็มีการเพิ่ม KML เข้าไปเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของโปรโตคอลประเภท Data encoding เพิ่มใช้ในการแสดงผลและเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต โดย KML เองมีการออกแบบคลาสและฟีเจอร์ในการจัดการเรื่องการแสดงผลไว้อยู่ โดย GML สามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบ KML ได้ผ่าน xslt ซึ่งทำให้สามารถลดรายละเอียดข้อข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้ใช้ในการแสดงผล หรือสามารถทำการ normalization ข้อมูลได้อีกด้วย
จริงๆแล้ว GML เป็นที่นิยมมากและเป็นฟอร์แมทสามัญในหลายประเทศครับ โดยดูได้จากซอฟท์แวร์ GIS รุ่นใหม่ต่างรองรับการแสดงผลข้อมูล GML3 เพื่อตอกย้ำความชัดเจนของการเป็นมาตรฐานสากลของ GML ผมมีหนังสือ GML มาแนะนำ เล่มนี้เป็นงานเขียนของ Ron Lake และ David Burggraf ที่สรุปรายละเอียดและฟีเจอร์ของ GML ได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมหลายเรื่องเช่น features, coordinate reference systems และอื่นๆ

http://emap.wordpress.com/2009/01/24/gml-book/




Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับระบบปฏิบัติการ

การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัติการได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นของเขาให้ทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%

อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้

ภาพเวบแผนที่บนเครือข่าย




http://www.siamearth.com/home.php?q=first


http://map.longdo.com/

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเครือข่าย




จากรูปเป็นการแสดงแผนที่บนอินเตอร์เน็ตที่มีรูปแบบน่าสนใจ คือ มีรูปภาพของสถานที่ไห้ผู้ใช้ได้เห็นก่อนไปสถานที่จริง เป็นการนำแผนที่มาประยุกต์ใช้ ให้ทันสมัยเข้ากับปัจจุบันที่ไม่ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหนก็สามารถดูเส้นทางได้ไม่ยากและสามารถศึกษาข้อมูลข้องแผนที่และเส้นทางได้ล่วงหน้า ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านเครือข่ายจึงเป็นที่น่าสนใจและมีการเพิ่งเติมข้อมูลใหม่ๆได้เรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้การทำแผนที่ในปัจจุบันเป็นการทำแผนที่บนอินเตอร์เน็ตที่มีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น มีลูกเล่นหลากหลายให้เราได้ติดตาม และสถานที่ใหม่ๆที่เกิดขึ้นมากมาย ให้ศีกษา

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

CartaLinx



CartaLinx เป็นการสร้างแบบข้อมูลในรูปแบบต่างๆ มีการเก็บข้อมูลที่เริ่มจาก จุด และพิกัดอ้างอิง แบบเส้น แบบพื้นที่ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในรุปแบบฐานข้อมูลสัมพันธ์

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Raster / Vector และ Pixel

Vector Graphic
ภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator,Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors)

ข้อดีของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ คุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้


Raster Graphic
โปรแกรมปรับแต่งภาพส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ มักจะทำงานกับภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution)



Pixelพิกเซล (Pixel)
เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆ ภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ (map) นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่าบิตแมป (bitmap) เช่น พิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของพิกเซลที่แสดงต่อหน่วยของความยาวในภาพจะถูกเรียกว่าความละเอียด ของภาพ โดยปกติจะวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว (ppi : pixel per inch) ภาพที่มีความละเอียดสูงจะประกอบไปด้วยพิกเซลจำนวนมากที่มีขนาดเล็กกว่าภาพเดียวกันที่มีความละเอียดน้อยกว่า ตัวอย่าง เช่น ภาพขนาด 1 x 1 นิ้ว ที่ความละเอียด 72 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 5,184 พิกเซล (ความกว้าง 72 พิกเซล x ความยาว 72 พิกเซล = 5,184) และภาพเดียวกันที่ความละเอียด 300 ppi จะประกอบด้วยพิกเซล 90,000 พิกเซลที่มีขนาดของพิกเซลเล็กกว่า (300 x 300 = 90,000) แน่นอน ว่าภาพที่มีความละเอียดมากกว่าก็จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่า

ต่อGIS

ประเภทของ Feature ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จุด (Point)
เส้น (Arc)
พื้นที่ (Polygon)
ข้อมูลค่าพิกัดของจุด
ค่าพิกัด x, y 1 คู่ แทนตำแหน่งของจุด
ไม่มีความยาวหรือพื้นที่
ข้อมูลค่าพิกัดของ Arc
Vertex (ค่าพิกัด x, y คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของ arc
arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node
arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node
ความยาวของ arc กำหนดโดยระบบค่าพิกัด
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Arc
Arc 1 เส้น มี Vertex ได้ไม่เกิน 500 Vertex โดย vertex ลำดับที่ 500 จะเปลี่ยนเป็น node และเริ่มต้น เส้นใหม่ด้วยการ identifier ค่าใหม่โดยอัตโนมัติ

ข้อมูลค่าพิกัดของ Polygon
polygon จะประกอบด้วย arc ตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไป แต่มี 1 Label point
มี Label point 1 point อยู่ภายในพื้นที่ปิดและใช้ในการแยกแยะแต่ละ polygon ออกจากกัน


ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic data) สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน
ข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector format)
ข้อมูลแบบแรสเตอร์ (Rastor format)
ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น


เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล
การนำเข้าข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินคุณภาพข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบในเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการสำรวจข้อมูลมาตราส่วนของแผนที่ ความถูกต้อง ความละเอียด พื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึงและปีที่จัดทำข้อมูล เพื่อประเมินคุณภาพ และคักเลือกข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล

การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
สำหรับขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่อายทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมทำกันในปัจจุบันได้แก่ การดิจิไทซ์ (Digitize) และการกวาดตรวจ (Scan) ซึ่งทั้ง 2 วิธีต่างก็มีข้อดี และข้อด้อยต่างกันไปกล่าวคือการนำเข้าข้อมูลโดยวิธีกวาดตรวจจะมีความรวดเร็วและ ถูกต้องมากกว่าวิธีการเข้าข้อมูลแผนที่โดยโต๊ะดิจิไทซ์และเหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก แต่การนำเข้าข้อมูลโดยการดิจิไทซ์จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและเหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณน้อย
การใช้เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นการแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยนำแผนที่มาตรึงบนโต๊ะ และกำหนดจุดอ้างอิง (control point) อย่างน้อยจำนวน 4 จุด แล้วนำตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) ลากไปตามเส้นของรายละเอียดบนแผนที่
การใช้เครื่องกวาดภาพ (Scanner) เป็นเครื่องมือที่วัดความเข้มของแสงที่สะท้อนจากลายเส้นบนแผนที่ ผลลัพธ์เป็นข้อมูลในรูปแบบแรสเตอร์ (raster format) ซึ่งเก็บข้อมูลในรูปของตารางกริดสี่เหลี่ยม (pixel) ค่าความคมชัดหรือความละเอียดมีหน่วยวัดเป็น DPI : dot per inch แล้วทำการแปลงข้อมูลแรสเตอร์ เป็นข้อมูลเวกเตอร์ ที่เรียกว่า Raster to Vecter conversion ด้วยโปรแกรม GEOVEC for Microstation หรือ R2V

การนำเข้าข้อมูลเชิงบรรยาย
ข้อมูลเชิงบรรยายที่จำแนกและจัดหมวดหมู่แล้ว นำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลด้วยแป้นพิมพ์ (Keyboard) สำหรับโปรแกรม PC ARC/Info จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ dBASE ด้วยคำสั่ง Tables ส่วนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลแบบ Relational data base ทั่วๆ ไปบนเครื่อง PC เช่น Foxpro, Access หรือ Excel จำเป็นต้องแปลงข้อมูลให้เข้าอยู่ในรูปของ DBF file ก่อนการนำเข้าสู่ PC ARC/Info

GIS


ข้อมูลทีี่ใช้ใ้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS จะเป็น็นข้อ้อมูลทีี่
สามารถอ้า้างอิง Reference กับตำาแหน่ง่งพืื้นผิวโลกได้เ้เท่า่านัั้น โดยเป็น็นข้อ้อมูลทีี่มี
ความสัมพันธ์เ์เชิงตำาแหน่ง่ง และอ้า้างอิงกับพิกัดของโลกได้ ดังนัั้นการนำาเข้า้า
ข้อ้อมูล (Input) การวิเคราะห์ (Analysis) และการนำาเสนอข้อ้อมูล (Display) ใน
GIS จึงเป็น็นการนำาเสนอ เฉพาะข้อ้อมูลทีี่มีความสัมพันธ์เ์เชิงตำาแหน่ง่งกับข้อ้อมูล
อืื่นๆ ซึึ่งจะแตกต่า่างจากข้อ้อมูล MIS โดยทัั่วไปทีี่ไม่ม่มีความสัมพันธ์อ์อ้า้างอิงกับ
ตำาแหน่งพิกัดของโลก




ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่ง
ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล รวมถึงบุคลากรซึ่งช่วยใน
การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอสารสนเทศ ซึ่ง
ผูกติดกับตำแหน่งในเชิงพื้นที่
นิยามของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
spatial location – ตำแหน่งเชิงพื้นที่
information – ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว
system – การเชื่อมโยงระหว่างซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
personnel – กุญแจสำคัญซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อน GIS

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตอบคำถามแบบฝึกหัด

ข้อ i
**SELECT Subjectid , Name , Credit , Book , Teacher
FROM Subject;

ข้อj
** SELECT Subject , Name , Credit , Book
FROM Subject

ข้อk
**SELECT Subject , Name ,Credit
FROM Subject WHERE Subject = 104111;

ข้อo
SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.Score,Register.Grade,Subject.NameFROM Register,Student,Subject WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) AND(Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND Register.Subjectid = 104111);
แสดงฟิลด์ รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จาก การลงทะเบียน ตารางนักเรียน รายวิชา
โดยมีเงื่อนไขคือแสดงเฉพาะรหัสวิชา 104111

ข้อp
SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.score,Register.Grade,Subject.Name,Student.ClubFROM Register,Student,Subject WHERE (Register.Studentid = Student.Studentid) AND(Register.Subjectid = Subject.Subjectid AND Register.Subjectid = 104111 AND Club LIKE 'ภูมิศาสตร์')

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตอบคำถามแบบฝึกหัด SQL

ตอบข้อ h
“ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา ชั้น และงานอดิเรก จากตารางนักเรียน โดยมีเงื่อนไขคืองานอดิเรก อ่านหนังสือ”

ตอบข้อ i
SELECT* FROM Subject


ตอบแค่สองข้อก่อนคะ

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

SQL Query

หัวข้อสรุป SQL Query ครอบคลุมรายละเอียดการสร้างประโยคคำสั่ง SELECT ในการประยุกต์ต่างๆ ประโยคคำสั่ง SELECT เป็นแกนการทำงานของภาษา SQL และเหมือนกับคำสั่ง SQL ส่วนใหญ่ ประโยคคำสั่ง SELECT มีตัวเลือกในการเขียนคำสั่ง ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อนำตัวเลือกต่างในการสร้าง SQL query ( ด้วยประโยคคำสั่ง SELECT) รวมทั้งสามารถสร้างชุดคำสั่งได้มีประสิทธิภาพ หรือมากกว่า

1. SELECT Statement
ประโยคคำสั่ง SELECT ได้รับการนำไปใช้ในการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล และดึงข้อมูลที่เลือกตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด

ประโยคคำสั่ง SELECT มี 5 clause ให้เลือกใช้ แต่มีเฉพาะ FROM เป็น clause บังคับ แต่ละ clause มีตัวเลือก พารามิเตอร์ เป็นต้น ให้เลือก

ไวยากรณ์
ประโยคคำสั่ง SELECT

SELECT [ALL | DISTINCT] column1[,column2]
FROM table1[,table2]
[WHERE conditions ]
[GROUP BY column-list ]
[HAVING conditions ]
[ORDER BY column-list [ASC | DESC] ];
[ ] ตัวเลือก

ตัวอย่าง
SELECT name, age, salary
FROM employee
WHERE age > 50;

ประโยคคำสั่งนี้จะเลือกค่าทั้งหมดในคอลัมน์ name, age และ salary จาก table “employee ที่ age มีค่ามากกว่า 50

NOTE: ต้องมีเครื่องหมาย semicolon(;) ปิดท้ายประโยค เพื่อชี้ว่าประโยคคำสั่ง SQL จบสมบูรณ์และพร้อมที่จะแปล


2. GROUP BY
ไวยากรณ์
GROUP BY clause

SELECT column1, SUM(column2 )
FROM list-of-tables
GROUP BY column-list ;

GROUP BY clause ใช้หาผลรวมของคอลัมน์จากแถวในคอลัมน์ที่ระบุ และทำงานร่วมกับ aggregate function ที่ทำงานกับคอลัมน์ 1 คอลัมน์หรือมากกว่า เพื่อหาผลรวมของกลุ่มของแถวข้อมูล

SELECT max(salary), dept
FROM employee
GROUP BY dept;

ประโยคคำสั่งนี้จะเลือกค่า salary มากที่สุด ในแต่ละฝ่าย

ตัวอย่าง
การจัดกลุ่มภายในคอลัมน์ เช่น table ‘item_order’ มีคอลัมน์ quantity ที่เก็บค่า 1, 2, 3 และอื่นๆ โดยต้องการหาค่าราคาสูงสุดของละค่าใน quantity สามารถเขียนคำสั่งได้ดังนี้

SELECT quantity, max(price)
FROM items_ordered
GROUP BY quantity;



http://www.widebase.net/database/sql/sqlquery/sqlquery02.shtml

SQL Basic

SQL เป็นภาษามาตรฐานสำหรับฐานข้อมูล Relational Database Management System (RDBMS) ตามมาตรฐานของ ANSI (American National Standard Institute) ในส่วนนี้กล่าวถึงคำสั่งต่างๆตามพื้นฐาน และสามารถดูการประยุกต์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ โดยคำสั่ง QUERY ดูเพิ่มจาก SQL Query

1. SQL
SQL (ออกเสียงว่า "ess-que-el" หรือ "ซี-เคลว") ย่อมาจาก Structured Query Language เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้ในการติดต่อกับฐานข้อมูล คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของ IBM ในทศวรรษ 1970 ในปัจจุบัน ANSI (American National Standard Institute) ได้ประกาศให้ SQL ภาษามาตรฐานสำหรับระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System ย่อเป็น RDBMS) คำสั่งของ SQL ทำงานต่างของฐานข้อมูล เช่น การปรับปรุงข้อมูล การดึงข้อมูลเพื่อแสดงผลที่ต้องการ


2. Relational Database
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เป็นโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถกำหนดความสัมพันธ์ขึ้นเมื่อใดก็ได ้โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบฐานข้อมูล และเปลี่ยนโครงสร้างได้ง่าย ฐานข้อมูลเก็บข้อมูลและสารสนเทศในอ๊อบเจค เรียกว่า Table
Table ประกอบด้วย คอลัมน์ (Column) และแถวข้อมูล (Row) โดยคอลัมน์ประกอบด้วย ชื่อคอลัมน์ ประเภทข้อมูล และคุณสมบัติอื่นๆ (เช่น การกำหนดเป็น primary key, ค่าเริ่มต้น) แถวเก็บข้อมูลของคอลัมน์

3. การเลือกข้อมูล
SELECTION statement ใช้ในการสร้างคิวรี่ หรือการสอบถามกับฐานข้อมูล และเลือกดึงข้อมูลที่ตรงกับเกณฑ์ที่กำหนด

ไวยากรณ์
SELECT column1 [, column2…]
FROM tablename
[WHERE condition ];
[ ] ตัวเลือก

4. การสร้าง Table
CREATE TABLE statement ใช้ในการสร้าง Table ขึ้นมาใหม่

ไวยากรณ์1
รูปแบบการสร้าง Table อย่างง่าย

CREATE TABLE tablename
(column1 datatype,
column2 datatype,
column3 datatype, …);

ไวยากรณ์ 2
รูปแบบการสร้าง Table ที่มีข้อกำหนด หรือ constraint

CREATE TABLE tablename
(column1 datatype [constraint],
column2 datatype [constraint],
column3 datatype [constraint],…);
[ ] ตัวเลือก



5. การกำหนด Key
Key เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของคอลัมน์ใน Table ซึ่งทำหน้าที่เป็น index เพื่อเพิ่มความเร็วในการค้นหาข้อมูล และใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง Table

Primary key สร้างจากคอลัมน์ (หรือประกอบด้วยหลายคอลัมน์) ที่มีค่าของคอลัมน์ในทุกแถวข้อมูลมีค่าไม่ซ้ำกัน เป็นการควบคุมค่าที่เก็บในคอลัมน์ และใช้ในการเชื่อมโยงกับ Table อื่น ในแต่ละ Table กำหนด primary key ได้ 1 key

Foreign key เป็นคอลัมน์ใน Table ที่ primary key อยู่ที่ Table อื่น หมายถึงว่า ค่าของคอลัมน์ทั้งหมดใน Table ต้องมีค่าสอดคล้องกับค่าของคอลัมน์ที่เป็น primary key ของ Table ที่สัมพันธ์กัน

Index สามารถกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการเพิ่มความเร็วในการค้นหาข้อมูล การเรียงลำดับข้อมูล แต่ควรสร้างตามความจำเป็น เนื่องจากถ้ามีคอลัมน์ที่เป็น Index มากจะทำให้การทำงานช้าลง

การกำหนด primary key
ตัวอย่าง
CREATE TABLE employee
(employee_id (10),
first varchar(15),
last varchar(20),
age number(3),
address varchar(30),
city varchar(20),
state varchar(20),
CONSTRAINT employee_primary_key PRIMARY KEY (employee_id));

หรือ

CREATE TABLE employee
(employee_id (10)NOT NULL
CONSTRAINT employee_primary_key PRIMARY KEY (employee_id),
first varchar(15),
last varchar(20),
age number(3),
address varchar(30),
city varchar(20),
state varchar(20));




http://www.widebase.net/database/sql/sqlbasic/sqlbasic06.shtml

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ภาษา SQL (Standard Query Language)

ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language-DML)
หลังจากที่เราสร้างโครงสร้างฐานข้อมูลขึ้นแล้ว คำ สั่งต่อไปในการป้อนข้อมูลลงในฐานข้อมูล
และเปลี่ยนแปลงข้อมูล ในฐานข้อมูล โดยการใช้ภาษาสำ หรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation
Language-DML) ใช้จัดการข้อมูลภายในตารางภายในฐานข้อมูล และภาษาแก้ไขเปลี่ยนแปลงตาราง
แบ่งออกเป็น 4 Statement คือ
• Select Statement : การเรียกหา (Retrieve) ข้อมูลจาก ฐานข้อมูล
• Insert Statement : การเพิ่มเติมข้อมูลลงใน ตาราง (Table) จาก ฐานข้อมูล
• Delete Statement: การลบข้อมูลลงออกจาก ตาราง (Table) จาก ฐานข้อมูล
• Update Statement: การเปลี่ยนแปลงข้อมูลลงใน ตาราง (Table) จาก ฐานข้อมูล

คำสั่ง ความหมาย
SELECT เรียกค้นข้อมูลในตาราง
INSERT เพิ่มแถวข้อมูลลงในตาราง
DELETE ลบแถวข้อมูล
UPDATE ปรับปรุงแถวข้อมูลในตาราง

คำสั่งค้นหาข้อมูล (Query Statement)
คำสั่ง SELECT เป็นคำ สั่งการเรียกดูข้อมูล หรือ ค้นข้อมูล ตามเงื่อนไขที่ระบุบ เนื่องจากคำ สั่ง
SELECT เป็นคำ สั่งที่มีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายเพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ซับซ้อน
ดังมีรูปแบบดังนี้
SELECT <ชื่อคอลัมน์ที่ต้องการดูข้อมูล>
FROM <ชื่อตาราง>
WHERE <เงื่อนไขตามที่ระบุบ>
SELECT --- เป็นคำ สั่งให้ทำ การเรียกดูข้อมูลในคอลัมน์ที่ระบุ ซึ่งอาจจะมากกว่า หนึ่งก็ได้ และถ้ามี
มากกว่าหนึ่งคอลัมน์ต้องคั่นด้วย คอมม่า (,) และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องหมาย
ดอกจัน (*) เพื่อแสดงถึงการขอดูข้อมูลทั้งหมดได้อีกด้วย
FROM --- เป็นคำ ส่วนประกอบของคำ สั่งที่บอกถึงตารางที่ต้องการดู ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งตารางก็
ได้ ที่จะถูกเรียกใช้จากคำ สั่ง SELECT
WHERE--- เป็นส่วนประกอบของคำ ส่ง ที่ใช้บ่งบอกเงื่อนไขที่จะใช้ในการค้นหาข้อมูล ขึ้นมาจากตา
รางใด ๆ ที่อยู่หลัง FROM นี้

http://www.sut.ac.th/ist/coursesonline/204204/Lecture/204204_47_09.pdf

ภาษา SQL (Standard Query Language)

รูปแบบการใช้คำ สั่ง SQL สามารถใช้ได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ คือ
• คำ สั่ง SQL ที่ใช้เรียกดูข้อมูลได้ทันที (Interactive SQL)
เป็นการเรียกใช้คำ สั่ง SQL สั่งงานบนจอภาพ เพื่อเรียกดูข้อมูลในขณะที่ทำ งานได้ทันที เช่น
SELECT CITY
FROM SUPPLIER
WHERE SNO = ‘SE’;
• คำ สั่ง SQL ที่ใช้เขียนร่วมกันโปรแกรมอื่น ๆ (Embedded SQL)
เป็นคำ สั่ง SQL ที่ใช้ร่วมกับคำ สั่งของโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น PL/1 PASCAL ฯลฯ หรือแม้
แต่กับคำ สั่งในโปรแกรมที่ระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นมีใช้เฉพาะ เช่น ORACLE มี PL/SQL (Procedural
Language /SQL) ที่สามารถเขียนโปรแกรมและนำ คำ สั่ง SQL มาเขียนร่วมด้วย เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้คำ สั่ง SQL ในภาษา PL/1
EXEC SQL SELECT CITY
INTO :XCITY
FROM SUPPLIER
WHERE SNO = ‘S4’;

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Normalization

การทำให้เป็นรูปแบบที่เป็น Normalizationเป็นกระบวนการออกแบบฐานข้อมูลที่นำเค้าร่างของรีเลชันมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data anomaly) เพื่อให้ได้ตารางที่ง่ายต่อการใช้งานและมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิด “one fact in one place” พยายามเก็บข้อเท็จจริงต่างๆไว้ในที่เดียว ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดย อี.เอฟ.คอดด์ (E.F.Codd) ประมาณปี ค.ศ. 1968 การนอร์มัลไลท์เซชั่นนั้นสามารถเรียกสั้น ๆ ได้ว่าการทำให้ความซ้ำซ้อนของข้อมูลหมดไปจากตารางต่าง ๆ นั่นเอง
ความซ้ำซ้อนของข้อมูลสามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะคือ
1. ความผิดปกติจากการเพิ่มข้อมูลลงไป
2. ความผิดปกติจากการลบข้อมูลออกมา
3. ความผิดปกติจาการแก้ไขข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

RDBMS

RDBMS เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างปรับปรุงและบริหารฐานข้อมูล โดย RDBMS ใช้คำสั่งของภาษา SQL ที่ป้อนโดยผู้ใช้หรือเก็บโปรแกรมประยุกต์ และสร้างปรับปรุงหรือการเข้าถึงฐานข้อมูล โปรแกรมประเภท RDBMS ที่รู้จักดีได้แก่ Microsoft Access, Oracle 7 และ CA-Open Ingres ของ Computer Associate

ข้อมูล GIS and spatial databases

ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ GIS
-การบริหารการปกครอง - เขตการปกครองต่าง ๆ
-ลักษณะภูมิประเทศ - ความสูง ความลาดเอียง ปริมาณน้ำฝน สถานีตรวจวัดอากาศ
-แหล่งน้ำ - แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ จุดเก็บน้ำ ตำแหน่ง/คุณภาพน้ำบาดาล
-ทรัพยากรแร่ธาตุและธรณีวิทยา - แหล่งแร่ ชนิดแร่ โครงสร้างทางธรณีวิทยา ของแหล่งน้ำใต้ดิน
-ทรัพยากรดิน - แผนที่ดิน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว การจัดที่ดิน
-ทรัพยากรป่าไม้ - แผนที่ป่าไม้ต่าง ๆ
-การใช้ที่ดิน - การจำแนกการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ แนวโน้มการใช้ที่ดินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- การบริการทางสังคม - Infrastructure ต่าง ๆ



ความสามารถของ GIS

-เก็บรักษา ปรับแก้ เพิ่มเติม ข้อมูลได้ทั้งในด้าน Graphics และฐานข้อมูล
-วิเคราะห์ผลด้วยระบบฐานข้อมูล โดยกำหนดเงื่อนไขและแสดงผลได้ทั้งภาพ Graphics แผนที่และรายงาน
-สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่ได้


สถานภาพของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน

-มีลักษณะเป็นระบบแยกเป็นอิสระตามหน่วยงานต่างๆ
-มีมาตรฐานที่หลากหลาย
-มีความซ้ำซ้อนทางด้านพื้นที่
-การสนธิข้อมูลเพื่อการใช้งานกระทำได้ยาก
-ข้อมูลไม่ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริง
-มีค่าความถูกต้องที่คลาดเคลื่อน
-มีราคาแพง

GIS and spatial databasesและthink spatially ในเชิงแผนที่







Think spatially

1.Spatial Distribution = การกระจายในเชิงพื้นที่- การที่พื้นที่ใด ณ พื้นที่หนึ่งที่มีทรัพยากรแล้วมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเป็นบริเวณกว้างในรูปแบบการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในพื้นที่นั้น

2.Spatial Differentiation = ความแตกต่างในเชิงพื้นที่-ในพื้นที่แต่ละพื้นที่หนึ่งจะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพไม่เหมือนกันและพื้นที่นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นที่

3.Spatial Diffusion = การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่อย่างมีรู้จุดเริ่มต้น -พื้นที่หนึ่งที่มีการกระจายตัวทางทรัพยากรหรือการเผยแพร่วัฒนธรรมไปสู่บริเวณพื้นที่อื่น

4.Spatial Interaction = การปฎิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่-พื้นที่ที่มีการกระทำ โต้ตอบหรือทำกิจกรรมระหว่างกันในบริเวณพื้นที่เดียวกันหรือต่างพื้นที่กัน เช่น หอพักมีปฎิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย

5.Spatial Temporal = ช่วงเวลาและสถานที่ในเชิงพื้นที่จะต้องเกี่ยวข้องกันเสมอ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

2.2.5 DBMA มีระบบควบคุมการใช้ข้อมูลร่วมกันในช่วงเวลาเดียวกัน (Concurrency Control)

DBMS มีระบบควบคุมการใช้ข้อมูลร่วมกันในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น lock-based protocols เป็นต้น สำหรับขนาดของ data item ที่จะถูกล็อกมีตั้งแต่ DB space, page, table, row และ column สำหรับ item ที่ถูกล็อกถ้าเป็น item ยิ่งเล็กจะได้ throughput สูง แต่จัดการยาก และใช้ทรัพยากรมาก โดยปกติ DBMS ที่มีคุณภาพดีจะล็อก unit ที่เล็กก่อนอันได้แก่ column แล้วตรวจสอบว่า row มี conflict หรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะล็อก row แล้วทำต่อไปถึง table ถ้าใช้ระบบคนเดียวก็อาจจะไม่ต้องล็อกเลย

Concurrency Control Techniques

เมื่อเกิดภาวะพร้อมกันในระบบ DBMS จะมีเทคนิคในการจัดเรียงลำดับการทำงานของแต่ละ Transaction
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ

การควบคุมภาวะพร้อมกันด้วยการล็อก (Locking)

การควบคุมภาวะพร้อมกันโดยไม่ใช้วิธีการล็อก (Without Locking)




http://www.google.co.th/search?q=concurrency+control&hl=th&lr=lang_th&ei=WHY6SoSKFajk6gObwvDxAw&sa=X&oi=lrtip&ct=restrict&cad=8

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMs)

เป็น Software ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งที่นิยมใช้อยู่กันในปัจจุบัน ได้แก่ ORACLE , SYSBASE , INFOMIX หรือ SQL เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)

ความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence)

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
 ความเป็นอิสระของข้อมูลในเชิงกายภาพ (Physical Data Independence) คือ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงสร้างในระดับภายใน จะไม่กระทบต่อโครงสร้างในระดับแนวคิด และระดับภายนอก เช่น การเปลี่ยนวิธีการเรียกใช้ข้อมูลจากเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะไม่กระทบต่อระดับแนวคิดหรือระดับผู้ใช้
 ความเป็นอิสระของข้อมูลในเชิงตรรก (Logical Data Independence) คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับแนวคิด จะไม่กระทบต่อโครงสร้างในระดับภายนอก เช่น การเพิ่ม ฟิลด์ หรือ ตารางใหม่เข้าไปในฐานข้อมูล

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Geography information


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System : GIS)

ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกที่มีความสามารถ ในการเก็บ ข้อมูลด้านแผนที่หรือข้อมูลในลักษณะที่เป็นภาพต่างๆ เช่น ภาพดาวเทียม (Satellite images) ภาพถ่ายทางอากาศ (Arial photographs) เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าว นี้สามารถนำ เข้าข้อมูลแผนที่หรือข้อมูลภาพต่างๆของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งข้อมูลแต่ละด้านจะ ถูกจัดเก็บไว้ใน โปรแกรมในลักษณะของข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Layer) หรือการซ้อนทับข้อมูล (Overlays) หรือชั้นข้อมูล (Coverages) แล้วสามารถนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกัน เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับข้อมูลในพื้นที่ (พิภพ อิศรางกูร ณ อยุธยา. 2540 อ้างตาม วีรวัฒน์ ธิติสวรรค์. 2544)

http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://http-server.carleton.ca/~dking/images/course_3.jpg&imgrefurl=http://http-server.carleton.ca/~dking/courses.htm&usg=__5jVPHzG52Ij5pzC2rwimR3FcxhY=&h=426&w=297&sz=24&hl=th&start=60&um=1&tbnid=nqaE9Lvd10x3wM:&tbnh=126&tbnw=88&prev=/images%3Fq%3DGeography%2Binformation%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26lr%3Dlang_th%26sa%3DN%26start%3D40%26um%3D1

Data vs. Information








http://www.coe.org/images/newsnet/img1.gif

ระบบการจัดการฐานข้อมูล (data base management system, DBMS)

หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
1.ระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ ดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้
ในการติดต่อกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลได้ ในระบบฐานข้อมูลนี้ข้อมูลจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรองเมื่อผู้ใช้ต้องการจะใช้ฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ติดต่อกับระบบแฟ้มข้อมูลซึ่งเสมือนเป็นผู้จัดการแฟ้มข้อมูล (file manager) นำข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งาน และทำหน้าที่ประสานกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล
2. ควบคุมระบบความปลอดภัยของข้อมูลโดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาเรียกใช้หรือแก้ไขข้อมูลในส่วนป้องกันเอาไว้ พร้อมทั้งสร้างฟังก์ชันในการจัดทำข้อมูลสำรอง โดยเมื่อเกิดมีความขัดข้องของระบบแฟ้มข้อมูลหรือของเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดการเสียหายนั้น ฟังก์ชันนี้จะสามารถทำการฟื้นสภาพของระบบข้อมูลกลับเข้าสู่สภาพที่ถูกต้องสมบูรณ์ได้
3. ควบคุมการใช้ข้อมูลในสภาพที่มีผู้ใช้พร้อม ๆ กันหลายคน โดยจัดการเมื่อมีข้อผิดพลาดของข้อมูลเกิดขึ้น



http://sot.swu.ac.th/cp342/lesson01/ms2t2.htm


วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"+ข้อมูลเว็ปไซด์

http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html

http://province.moph.go.th/nakhonratchasima/gis_koratpage.htm


ข้อมูลเว็ปไซด์ เรื่อง สารสนเทศภูมิศาสตร์

ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"



ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย








สารสนเทศภูมิศาสตร์

หมายถึง การทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆก็ได้ว่าเป็นการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ

ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ ก็คือ ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้ประมวลผลและยังนำไปใช้ไม่ได้ ส่วนสารสนเทศก็คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยวิธีกรต่างๆ เช่นการนำมาจัดเรียง การผ่านสูตรคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ การหาผลเฉลี่ย เป็นต้น แล้วและสามารถนำไปใช้ในประโยชน์ได้นั้นเอง

http://gotoknow.org/blog/sasipong/30341



ความแตกต่างของข้อมูล และสารสนเทศ คือ ข้อมูลเป็นส่วนที่จะมาก่อนสารสนเทศ หรือเป็นต้นกำหนดของสารสนเทศ ส่วนสารสนเทศ จะเกิดจากการนำข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านขั้นตอน หรือกระบวนการในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้


http://www.lcc.ac.th/WEB_T/noi/Templates/Untitled-333.htm

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ


ข้อมูล (DATA)
หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อความ ตัวเลข ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง ตัวอย่างข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ เป็นต้น
สารสนเทศ (INFORMATION)
หมายถึง ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ตัวอย่างของสารสนเทศ เช่น การนำคะแนนสอบมาตัดเกรด เกรดที่ได้คือสารสนเทศ ซึ่งสามารถนำไปช่วยในการตัดสินบางสิ่งบางอย่างได้ เป็นต้น สารสนเทศที่ดีจะต้องเกิดจากข้อมูลที่ดีเช่นกัน
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
1. มีความถูกต้อง เพราะข้อมูลที่ได้ต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ
2. มีความเที่ยงตรง แม่นยำ เชื่อถือได้
3. มีความเป็นปัจจุบัน ตรงตามความต้องการของผู้ใช
4. มีหลักฐานอ้างอิง เชื่อถือและตรวจสอบได้ถึงแหล่งที่มา
5. มีความสมบูรณ์ชัดเจน เพื่อสำรวจได้อย่างทั่วถึง
การประมวลผลข้อมูลไปสู่สารสนเทศ
ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้จะต้องดำเนินการกับข้อมูลนั้นเสียก่อนดังนี้
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษาสารสนเทศที่ได้