วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

GML+ API

กล่าวถึง GML อาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกันอย่างแพร่หลายหนัก แต่จริงๆแล้ว GML ถูกใช้และพัฒนามาหลายปีแล้ว โดย GML ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล GIS โดยไม่ขึ้นกับฟอร์แมทเฉพาะของซอฟท์แวร์ GIS เช่น tab,shp,dgn โดยลดการศูนย์เสียเนื่องจากการแปลงข้อมูลไปยังรูปแบบต่างๆได้ ส่วนการแสดงผล GML ก็สามารถแสดงผลข้อมูลได้ด้วยเทคโนโลยีการแสดงผลของ XML เช่น SVG

GML เป็นหนึ่งในมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูล GIS ของ ISO และ OGC โดยมีความสามารถครอบคลุมการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น Topology, Time, 3D และ Metadata ซึ่งเชื่อมต่อกับโปรโตคอลในการบริการข้อมูลฟีเจอร์ เช่น Web Feature Service (WFS) แต่การใช้งานปัจจุบันส่วนมากเรามักใช้งานเพียงแค่ในด้านการแสดงผลข้อมูล GIS ประเภท Featrue ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งในความเป็นจริงก็มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดของเอกสารข้อมูล GML ที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนาน OGC ก็มีการอภิปรายในเรื่องของประสิทธิภาพและข้อจำกัดในเรื่องนี้ จนเมื่อปีที่แล้วก็มีการเพิ่ม KML เข้าไปเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของโปรโตคอลประเภท Data encoding เพิ่มใช้ในการแสดงผลและเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต โดย KML เองมีการออกแบบคลาสและฟีเจอร์ในการจัดการเรื่องการแสดงผลไว้อยู่ โดย GML สามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบ KML ได้ผ่าน xslt ซึ่งทำให้สามารถลดรายละเอียดข้อข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้ใช้ในการแสดงผล หรือสามารถทำการ normalization ข้อมูลได้อีกด้วย
จริงๆแล้ว GML เป็นที่นิยมมากและเป็นฟอร์แมทสามัญในหลายประเทศครับ โดยดูได้จากซอฟท์แวร์ GIS รุ่นใหม่ต่างรองรับการแสดงผลข้อมูล GML3 เพื่อตอกย้ำความชัดเจนของการเป็นมาตรฐานสากลของ GML ผมมีหนังสือ GML มาแนะนำ เล่มนี้เป็นงานเขียนของ Ron Lake และ David Burggraf ที่สรุปรายละเอียดและฟีเจอร์ของ GML ได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมหลายเรื่องเช่น features, coordinate reference systems และอื่นๆ

http://emap.wordpress.com/2009/01/24/gml-book/




Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับระบบปฏิบัติการ

การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัติการได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นของเขาให้ทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%

อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้

1 ความคิดเห็น:

  1. ดีแล้วที่พูดถึงเรื่องนี้ครับ ถาษา XML เป็นภาษาที่ใช้ในงานที่หลากหลาย GML ประยุกต์มาจาก XML ครับ

    ตอบลบ